call center : 02-756-0335
hotline : 086-3167436
(Turk)
ชาวเติร์ก ถือกำเนิดจากคนกลุ่มเหล่านี้ โดยมีภาษาเท่านั้นที่แบ่งแยกพวกเขาออกจากชาวยุโรป ชนเผ่าสลาฟ หรือเซมิติกอื่นๆ นอกจากภาษาตุรกีตะวันตกสมัยใหม่ที่ใช้พูดกันในตุรกีแล้ว ยังมีชนเผ่าตุรกีในอิหร่าน ชาวคอเคซัสในรัสเซีย และชาวเตอร์กีสถานอีกหลายล้านคนที่พูดภาษาตุรกีอีกแบบหนึ่ง หรือภาษาที่เกี่ยวโยงกันอย่างภาษามองโกเลีย ภาษาอุชเบก (Uzbek) ในตระกูลรัล-อัลเตอิก (Ural-Altaic) ฟินแลนด์ ฮังการี ญี่ปุ่น เกาหลี และกระทั่งภาษาอินเดียนแดงเผ่านาวาโฮ(Navaho หรือ Navajo) อีกด้วย
คำว่า “เติร์ก” มาจากคำว่า “Durko” หรือ “Tu-chuech” ในพงศดารจีน เมื่อ 3,300 ปีมาแล้ว และจารึกออร์คอน (Orkhon) ที่พบในมองโกเลีย อายุ 2,820 ปี กล่าวถึงการรวบรวมชนเผ่าต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อต่อสู้กับชาวจีน และมีใจความสำคัญกล่าวไว้ว่า “หากท้องฟ้าไม่ถล่ม แผ่นดินไม่ทลาย เหล่าลูกหลานเติร์กจะไม่มีผู้ใดสามารถทำลายชาติของเจ้าได้เลย”
ชาวเติร์กปกครองกันแบบพ่อปกครองลูก มีภรรยาในได้เพียงคนเดียว แต่สามารถแต่งภรรยานอกเผ่าได้ ถือเป็นการผูกพันทางสายเลือดกับเผ่าเพื่อนบ้าน ชาวเติร์กจึงมีพันธมิตรมาก ทำให้สับสนจนไม่อาจแยกแยะได้ว่าราชวงศ์ที่ก่อตั้งขึ้นในเอเชียกลางราชวงศ์ใดเป็นของเผ่ามองโกลหรือของเติร์กที่โดดเด่นที่สุดคือ จักรพรรดิเตมูจิน (Temujin) หรือเจงกีสข่าน ซึ่งมีสายเลือดมองโกลและเติร์กอยู่ในตัวอย่างละครึ่ง เป็นนักรบผู้เกรียงไกรมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
ชนเผ่าเร่ร่อนเหล่านี้นับถือผีสางเทวดามาก่อน ชาวเติร์กตั้งถิ่นฐานเดิมอยู่ตอนกลางของเอเชีย ที่เรียกว่า “เตอร์เคสถาน” (Turkestan) เป็นนักรบที่เก่งกาจเข้ามายึดครองอาณาจักรไบแซนไทน์ในปี 1179 ต่อมายอมรับนับถือศาสนาอิสลาม องค์กาหลิบแห่งราชวงศ์อับบาสิตในกรุงแบกแดดได้จ้างชาวเติร์กมาเป็นทหารในกองทัพ ต่อมาเลื่อนขั้นเป็นนายทหารเป็นส่วนใหญ่
ต่อมา พ.ศ. 1614-1786 ชาวเติร์กที่เรียกตัวเองว่า “ชาวเซลจุก”(Seljuk) เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตอิหร่านและอิรักในปัจจุบัน มีเมืองคอนยา (Konya) เป็นศูนย์กลาง ภายใต้การนำของโทรูล เบย์ (Tugrul Bey) และอาลป์ อาร์สลาน (Alp Arslan) ต่อมาเจงกีสข่านนำทหารมองโกลบุกมาถึงเอเชียกลาง ปล้นสะดมทุกหัวเมืองที่ผ่าน ก่อนจะล่าถอยกลับไปยังจีน สุลต่านออสมานที่ (Osman I) ก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมันในปี 1842 เมืองหลวงแห่งแรกคือ อิซนิค (Lznik) ย้ายไปเมืองบูร์ซาในปี 1878 และเมืองเอดิร์น (Edirne) ในปี 1996
Mehmed II the Conqueror
สุลต่านเมห์เมดผู้พิชิต (Mehmed II the Conqueror) ยกทัพปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิไบแซนไทน์แห่งพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 และตีกรุงแตกในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 รวม 470 ปี โดยมีกรุงอิสตันบูลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ มีการสร้างสุเหร่าพระราชวังโรงอาบน้ำ และน้ำพุ
ยุคทองตรงกับสมัยของสุลต่านสุลัยมานมหาราช (Suleiman I หรือ Suleymn the magnificent, พ.ศ. 2063-2109) รวมเวลา 46 ปี ขณะมีพระชนมอายุ 26 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์และมีพระปรีชาสามารถมากในยุคนั้น ท่ามกลางการแข่งขันชิงอำนาจในประเทศต่างๆ ของยุโรปเช่น พระเจ้าชาร์ลที่ 5 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กแห่งสเปน พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 และพระนางอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ พระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าเฟอร์ดินันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมัน พระเจ้าอีวาน (ผู้โหดเหี้ยม) แห่งรัสเซีย แต่สุลต่านสุลัยมานมีความสามารถมากในฐานะนักรบ รัฐบุรุษ นักกฎหมายผู้อุปถัมภ์งานศิลปะจนกลายเป็นยุคทอง ภายใต้หัวหน้าสถาปนิกหลวงชื่อดัง “ซีนาน” (Sinan) ผู้สร้างสรรค์งานก่อสร้างมหามัสยิดมากมายกว่า 300 แห่ง รวมทั้งมัสยิดสุลัยมาน โรงอาบน้ำ สะพาน และอาคารต่างๆ
Cr. บทความตุรกีจากคุณไพรัตน์ สูงกิจบูลย์