call center : 02-756-0335
hotline : 086-3167436
เป็นอีกประเทศที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ประเทศศรีลังกามีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และอยู่อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ตามหลักฐานต่างๆในการจัดแสดงที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชราติโคลัมโบ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรม 2 กลุ่มด้วยกันคือ
1. วัฒนธรรมรัตนปุระ (Ratanapura Culture) อยู่ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ช่วงระยะเวลาที่ยังไม่มีลายลักษณ์อักษรที่มีผู้อ่านออก) เรียกว่า “ยุคหินเก่า” อายุประมาณ 500,000 มาแล้ว หลักฐานที่พบเป็นเครื่องมือหิน เป็นหินกรวดมน หรือหินร่องน้ำ ทำมาจากแกนหิน ไม่มีการเจาะ ผลึกหรือสะเก็ดหินจะหนาและเกลี้ยงกลม มีการตกแต่งให้สวยงามด้วยการขัด มักจะค้นพบในระดับความลึกราว 3.6-16 เมตรจากผิวดิน ฝังอยู่ในชั้นของทรายท่ามกลางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในยุคไพลสโตซีน (Pleistocene)
ทั้งยังมีหลักฐานทางโบราณคดีที่มีข้อสันนิษฐานว่า บางทีมนุษย์รุ่นแรกของโลกที่เรียกว่า “โฮโมซาเปียน” (Homo Sapiens) อาจจะอาศัยอยู่ในศรีลังกาเมื่อประมาณ 500,000 มาแล้ว เพราะมีการค้นพบโบราณวัตถุของมนุษย์กลุ่มนี้ในเกาะศรีลังกาด้วย
และในคัมภีร์มหาวงศ์ของศรีลังกาได้กล่าวไว้ว่า เกาะศรีลังกาเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าที่เรียกว่า “ยักษา” (Yakshas) และ “นาค” (Nagas) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ที่นี่ ก่อนที่ชนชาติอินโด-อารยันจะพยพยเข้ามาตั้งรกรากที่เกาะแห่งนี้ ชาวศรีลังกาให้ความเคารพและสำนึกในบุญคุณของชนเผ่านี้ ซึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายมาก
รวมไปถึงบันทึกจดหมายเหตุการณ์เดินทางของพระภิกษุจีน ฟาเหียน ผู้ที่ได้เดินทางเข้ามาจาริกแสวงบุญในเกาะศรีลังกาได้บันทึกไว้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีข้อความว่า “แต่ดั้งเดิมในเกาะนี้ไม่มีผู้อาศัยอยู่ แต่เกาะนี้ถูกครอบครองโดยภูตผีและนาค ซึ่งมีพ่อค้าวาณิชจากประเทศต่างๆ ได้เข้ามาทำการค้า”
2. วัฒนธรรมพลังโคทา (Blangoda Cluture) อยู่ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบต่อจากวัฒนธรรมรัตนปุระ จัดแบ่งออกตามระยะเวลาได้ถึง 3 สมัยคือ สมัยหินกลาง ประมาณ 8,000-15,000 ปีมาแล้ว สมัยหินใหม่ ประมาณ 2,600-8000 ปีมาแล้ว และสมัยโลหะประมาณ 2500-2600 ปีมาแล้ว มีหลักฐานที่พบส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ทำด้วยหิน และกระดูกเป็นเครื่องมือ มีวิธีการกะเทาะที่ประณีตบนแกนหิน อันเป็นกรรมวิธีที่ค้นพบในระยะที่เกิดการใช้ภาชนะดินเผาขึ้นครั้งแรกในศรีลังกาแล้ว เมื่อประมาณ 2,600-3,000 ปีมาแล้ว
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มนุษย์พลังโคทาที่อาศัยอยู่ในศรีลังกานี้ เริ่มข้าสู่การเป็นมนุษย์ยุคใหม่ที่มีวัฒนธรรมสูงส่ง เจริญรุ่งเรือง โดยมีการนำเข้ามาโดยผู้อพยพจากอินเดีย อาจจะมีการสิบายต่อกันลงมาอย่างยืนยาว ในบริเวณป่าดิบสัพระคมุวะ มีการค้นพบถ้ำแห่งหนึ่ง มีโบราณวัตถุและเปลือกหอย เป็นถ้ำที่เปิดโล่งที่กิตุคละ บริเวณเชิงเขาทางทิศตะวันออกของโคลัมโบจากหลักฐานต่างๆ มากมายที่ได้พบ สันนิษฐานได้ว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในศรีลังการู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และอยู่อาศัยอยู่ในดินแดนหลายส่วนของศรีลังกา โดยเฉพาะที่ลึกเข้ามาจากชายฝั่งทะเล ซี่งบางทีอาจจะเป็นผู้สืบสายโลหิตมาจากชนกลุ่มที่ปรากฏอยู่ในตำนานที่เรียกว่า ยักษาและนาคในคัมภีร์มหาวงศ์
ต่อมาเข้าสู่ยุคศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ ของศรีลังกา แบ่งออกเป็น 6 แบบด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. ศิลปะแบบอนุราธปุระ พ.ศ. 106-1560
2. ศิลปะแบบโปโลนนารุวะ พ.ศ. 1560-1778
3. ศิลปะแบบทัมพเทณิยะ ยาปวุวะ และกุรุเนคละ พ.ศ. 1778-1884
4. ศิลปะแบบคัมปาละ หรือ คัมโปละ พ.ศ. 1884-1958
5. ศิลปะแบบชัยวรรธนปุระ หรือโกฏเฏ พ.ศ. 1958-2140
6. ศิลปะแบบสิริวัฒนบุรี หรือ แคนดี้ พ.ศง 2140-2358
นอกจากนี้ยังมีเมืองโบราณที่สำคัญอีก 3 แห่ง ที่กษัตริย์ศรีลังกาบางพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวง ในระหว่างปี พงศ. 1778-1958 คือ เมืองยาปวุวะ เมือง รยิคาม และเมืองกุรุเนคคละ
ชาวศรีลังกาได้รับพระพุทธศาสนามาจากพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย พระองค์ทรงส่งพระราชโอรสคือ พระมหินห์ และพระราชธิดาคือ พระนางเถรีสังฆมิตตา มาเป็นสมณทูตในดินแดนศรีลังกา เมื่อปี พ.ศง 307 มหินท์ทรงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และได้รับการการถวายสมัญญานามจากชาวศรีลังกาว่า “พระพุทธเจ้าองค์ที่ 2” ตรงกับในสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ
ต่อมาไม่นาน พระขนิษฐาของพระองค์ คือพระนางเถรีสังฆมิตตา ได้เสด็จมาศรีลังกาพร้อมด้วยของขวัญจากพระราชบิดาที่พระราชทานให้แก่ชาวศรีลังกาทั้งมวล ได้แก่ หน่อพระศรีมหาโพธิ์ 1 หน่อ จากเมืองพุทธคยา ซึ่งเป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ กษัตริย์ศรีลังกาทรงรับไปปลูกที่เมืองหลวงคือ อนุราธปุระ เมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักรศรีลังกาและปัจจุบันได้กลายเป็นต้นไม้ที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก เพราะเหตุว่าต้นเดิมที่เมืองพุทธคยาได้ถูกทำลายตายไป ต้นโพธิ์ในปัจจุบันได้มีการนำหน่อจากศรีลังกาไปปลูกขึ้นทดแทนต้นเดิม