call center : 02-756-0335
hotline : 086-3167436
ดินบนเกาะมัลดิฟส์ส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่ค่อยสมบูรณ์ มีต้นไม้ขึ้นประปราย ยกเว้น บางเกาะที่มีผืนดินสมบูรณ์พอทำการปลูกพืชที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ โกงกาง ลำเจียก สาเก ต้นโพธิ์ ไผ่ มะพร้าว กล้วย ทานตะวัน ชบา ส่วนพืชที่เพาะปลูกเพื่อบริโภค ได้แก่ มันฝรั่งหวาน มันเทศ เผือก ธัญพืชอย่างมิลเลต ลูกเดือย และแตงโม ที่เกาะฟัวมูลาคูทางตอนใต้มีผืนดินสมบูรณ์
ท้องทะเลมัลดิฟส์ขึ้นชื่อเรื่องความใสสะอาดและความหลายหลายทางชีวภาพ มีสัตว์และพืชน้ำนับพันชนิด เฉพาะปลาในมหาสมุทรอินเดียมีอยู่กว่า 700 พันธุ์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือปลาตามแนวปะการัง อาศัยอยู่ในทะเลในและตามแนวปะการังรอบหมู่เกาะ และปลาทะเลลึก ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในทะเลเปิด แต่บางครั้งก็ว่ายเข้ามาใกล้หมู่เกาะตามกระแสน้ำ หรือมาเพื่อหาอาหาร เช่น วาฬ ฉลาม ปลาสกิบแจ๊ค ปลาทูน่า
มัลดิฟส์เป็นหมู่เกาะโขดหินปะการัง จึงมีปะการังอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งปะการังแข็งที่เรารู้จักกันดี เช่นปะการังเขากวาง ปะการังมันสมอง ส่วนปะการังอ่อน ก็ได้แก่ ปะการังรูปแส้ รูปพัด ทั้งยังมีกัลปังหา ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก ปลาดาว ทาก และปลิงทะเล ดารา สำคัญคือเต่าและปลานานาชนิดที่มีสีสันสวยงามอย่างปลานกแก้ว ปลาผีเสื้อ ปลาเทวดา ปลาโนรี ปลาการ์ตูน ปลากะพง ปลาสวีทลิปส์ ปลายูนิคอร์น ฯลฯ หรือปลาที่น่าเกรงขามอย่าง วาฬ ฉลาม ปลากระเบน และปลาไหล หลายคนอาจคิดว่าการชมปลาต้องดำน้ำลึก แต่ที่มัลดีฟส์เพียงแค่ดำน้ำตื้น อยู่บนเรือท้องกระจก หรือบางครั้งแค่เดินเลียบชายฝั่ง ก็จะได้เห็นลีลาสวยงามของสัตว์ทะเลเหล่านี้แล้ว
เป็นเพราะธรรมชาติที่สวยงาม และความอุมดสมบูรณ์แห่งท้องทะเล ทำให้การประมงและการทอ่งเที่ยวได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ กิจการทั้งสองนี้จะดำเนินไปด้วยดีและต่อเนื่องตลอดไปนั้น สภาพแวดล้อมต้องสมบูรณ์ มีความเป็นธรรมชาติสูง ปราศจากมลพิษ มัลดีฟส์จึงเป็นประเทศหนึ่งที่จริงจังและรักษามาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด เริ่มแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1989 เพื่อป้องกันอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรพัยากรธรรมชาติเกินความจำเป็น เช่น ห้ามทำเหมืองหินปะการังในบางพื้นที่ (ชาวมัลดีฟส์ทำเหมือนหินปะการังเพื่อเอามาทำซีเมนต์และอิฐสำหรับสร้างกำแพง) จึงส่งเสรอิมให้ใช้อิฐคอนกรีตแทน ห้ามเก็บกัลปังหาและฆ่าเต่า รณรงค์ไม่ให้นักท่องเที่ยวซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดองเต่า ห้ามใช้แหและอวนลากขนาดใหญ่จับปลาในระยะ 320 กิโลเมตรรอบอะทอลล์ เพื่อป้องกันการจับปลาครั้งละมากเกินควร และโลมาติดร่างแห (การใช้อวนลากและเทคนิคอื่นในการจับปลาเพื่ออุตสาหกรรมทำได้ในน่านน้ำสากลเท่านั้น) ห้ามทอดสมอ พุ่งหลาวหรือยิงฉมวก ตามบริเวณหินปะการัง ห้ามงมปลิงทะเลในทะเลลึกเพื่อเปิดโอกาสให้ได้ขยายพันธุ์ ห้ามจับล็อบสเตอร์ในหลายพื้นที่ ยกเลิกการส่งออกเนื้อหอยกาบยักษ์ เนื่องจากมีจำนวนลดลงอย่างน่าใจหาย เป็นต้น
การสร้างรีสอร์ตอนุญาตให้ทำได้เฉพาะบนเกาะที่ไม่มีผู้อาศัย แต่ละแห่งต้องมีเครื่องปั่นไฟ เครื่องทำน้ำจืด เครื่องบำบัดน้ำเสีย เตาเผาขยะที่มีประสิทธิภาพ บางรีสอร์ตหันมาใช้เครื่องปรับอากาศและทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยหลายแห่งขอร้องให้นักท่องเที่ยวนำภาชนะ พลาสติก แบตเตอรี่ และวัสดุใช้แล้วอื่นๆ ที่ไม่เน่าสลายกลับบ้านไปด้วย แม้แต่เรือนักท่องเที่ยวก็ต้องมีระบบกำจัดขยะ ใครฝ่าฝืนกฎเหล่านี้จะได้รับโทษทั้งจำทั้งปรับ
ปี ค.ศ. 1996 ประธานาธิบดีได้ริเริ่มโครงการ “ต้นไม้ล้านต้น” เร่งปลูกต้นไม้ตามเกาะต่างๆ เพื่อให้ประเทศเป็นสีเขียว ปีถัดมาจัดทำโครงการ “Independence Maldives Clean Maldives” เพื่อให้ประเทศใสสะอาดปราศจากขยะและวัสดุเหลือทิ้ง
แพ็คเกจทัวร์มัลดีฟส์ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ ฟ้าใส ทะเลสวย อยู่แบบสงบๆ มากับเราสิคะ