call center : 02-756-0335
hotline : 086-3167436
วัดแห่งนี้อยู่ในเมืองพุกาม “วัดตะโรกปเยมิน” แปลว่าพระเจ้าหนีจีนหรือพระเจ้ากลัวจีน มีเรื่องเล่าว่าราวปี 1823 รัชสมัยพระเจ้านราธิหะปติ พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายที่ครองเมืองพุกาม สมัยที่ชาวมองโกล (Mongol) โดยพระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายที่ครองเมืองและได้ขยายอาณาเขตลงมาทางเมืองพม่า แต่งตั้งให้อุปราชเมืองฮุนหนำมาทวง “ก้อง” จากพุกาม ด้วยอ้างว่าพระเจ้าแผ่นดินพม่าได้เคยส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีนมาก่อน พระเจ้านราธิหะปติไม่ยอม “จิ้มก้อง” อุปราชไปยังเมืองหลวง พระเจ้ากุบไลข่านจึงส่งทูตมาทวงก้องอีกครั้ง ทูตวางท่าใหญ่โตก้าวร้าวต่างๆ ไม่ยอมถอดรองเท้าเวลาเข้าเฝ้า พม่าจึงจับทูตจีนฆ่าเสียและส่งกองทัพไปตีเมืองกันงาบ ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้วกลับใจไปขึ้นแก่จีน อุปราชฮุนหนำของกองทัพจีนยกลงมาช่วยตีกงอทัพพม่าแตกพ่าย พระเจ้านราธิปะปติก็ตกพระทัยกลังจีนยกทัพมาตีพุกาม จึงโปรดให้เตรียมการป้องกันเป็นโกลาหล รื้อวัดเพื่อเอาอิฐไปถมทำป้อมและสนามเพลาะ ประกอบกับการเกิดกบฏ พระเจ้านราธิหะทรงเห็นไม่ปลอดภัยจึงอพยพย้ายราชสำนักจากพุกาม หนีลงไปเมืองพะสิม และพระองค์ก็ไม่ได้กลับพุกามอีกเลย จนกองทัพจีนตีได้เมืองพุกาม เป็นอันสิ้นสุดเวลาที่พุกามเป็นราชธานีของพระเจ้าราชาธิราชแห่งพม่ามาได้ 438 ปี
จากหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวเมืองพุกาม มีโบราณสถานต่างๆ ที่น่าไปชมถึง 42 แห่งในเมืองพุกาม ซี่งเป็นเมืองที่มีอายุกว่า 1,153 ปีมาแล้ว สร้างก่อนกรุงสุโขทัยและได้รับสมญานามว่า “เมืองแห่งเจดีย์ 4,000 องค์” ทำให้เรานึกถึงภาพของเมืองที่มียอดแหลมของเจดีย์เสียดแทงทะลุฟ้าขึ้นมาอย่างมากมายตระการตา สาเหตุใหญ่ๆ ที่ทำให้โบราณสถานที่เมืองพุกามยังคงเหลือเหลืออยู่มากมายกว่า 5,000 แห่งจนถึงปัจจุบันนี้เพราะเมืองพุกามตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศพม่า ในเขตแห้งแล้ง (Dry Zone) ฝนจึงตกน้อยมาก ทำให้มีน้ำไม่พอเพียงเลี้ยงพืชพันธุ์ขนาดใหญ่ เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร ให้เกาะเกิดกับอิฐปูนได้ มีแต่หญ้าฝอยที่ขึ้นมาเกาะในฤดูฝน พอถึงฤดูแล้งก็แห้งหายไปหมด โบราณสถานจึงไม่หักพังเพราะต้นไม้ขึ้นมาเบียดเบียนสาเหตุหนึ่ง และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือชาวพม่าเอง แม้ทุกวันนี้ก็ยังถือคติที่จะไม่ทำลายโบราณสถานอย่างเคร่งครัด ทั้งยังหวงแหนไม่ให้ผู้อื่นมาทำลายอีกด้วย แม้ตามวัดร้างอยู่ห่างจากบ้านคนก็ไม่มีแห่งใดมีร่องรอยของโจรลักลอบขุดเอาสมบัติเลย คงจะกลัวบาปกรรมกันมาก ทั้งสองเหตุนี้ให้แก่การรักษาโบราณของพม่าอย่างมาก
ปัจจุบันนี้วัดโบราณในพุกามเป็นวัดร้างแทบทั้งนั้น เพราะมีวัดมากกว่าพระสงฆ์มาก จะต้องมีพระสงฆ์เป็นจำนวนหนึ่งจึงพอจะรักษาวัดได้ แต่วัดบางวัดที่สำคัญที่พระเจ้าแผ่นดินพม่าทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ เช่น วัดมหาธาตุชเวซิกองของพระเจ้าอนุรุทธมหาราช (อโนรธามังช่อ)และวัดอนันดาของพระเจ้าสิทธะ จะไม่เคยร้างผู้คนเลยเพราะชาวพม่าเคารพนับถือมาก ครั้นเมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ รัฐบาลก็จ่ายเงินให้กรมตรวจโบราณคดีบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ละแห่งใช้เงินและเวลามาก เพราะฉะนั้นจึงทำได้ล่าช้า เมื่อได้ปฏิสังขรณ์ แต่ละแห่งใช้เงินและเวลามากรัฐบาลจะตั้งให้เป็นกรรมการรักษาวัดนั้น วัดไหนที่ไม่มีคนภายนอกเข้ารับรักษาดูแล ยังร้างอยู่ กรมตรวจโบราณคดีก็เป็นผู้รักษาเอง สำหรับวิธีบูรณปฏิสังขรณ์ ที่ได้สังเกตมานั้นน่าชมเชยยกย่องยิ่งนัก ด้วยที่ว่าเขารักษาแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ที่แห่งใดลวดลายและรูปภาพของเดิมหักหายหรือลบเลือนบกพร่องไปจนทำให้ขึ้นสมบูรณ์เหมือนเดิมไม่ได้ ก็จะรักษาของเดิมไว้เพียงเท่าที่มีอยู่ ที่ตรงไหนต้องทำใหม่ก็พยามยามทำตามแบบเดิม นับว่าเป็นการบูรณะที่ถูกต้องที่สุด
ประเทศพม่า เป็นประเทศที่มีวัดเยอะมาก หากท่านได้มาเที่ยวพม่า ก็อย่าลืมการเยี่ยมชม วัดตะโรกปเยมินกันด้วยนะคะ