call center : 02-756-0335
hotline : 086-3167436

สายสัมพันธ์ไทยกับรัสเซีย

by : Manasya   update : 3

สัมพันธภาพระหว่างราชวงศ์จักรีกับราชวงศ์โรมานอฟ



            ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์จักรีของประเทศ และราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียมีมายาวนานกว่า 110 ปี ซึ่งความสัมพันธ์นี้นำมาซึ่งความอยู่รอดของประเทศไทยในยุคการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส โดยในอดีตมีการเดินทางไปมาหาสู่กันในระดับพระราชวงศ์ทั้ง 2 ฝ่า เสมือนดั่งพระญาติสนิท

             “สยาม”  เริ่มเป็นที่รู้จักของชาวรัสเซียเมื่อนักเดินทางรอบโลก นายอังตอน ฟรังซัวส์ เปรวอสต์ได้ทำการสำรวจมาถึงดินแดนของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และบันทึกความประทับใจจากการเดินทางเป็นเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ที่พบเห็นความแตกต่างของประเพณีท้องถิ่น ขนบธรรมเนียม ศานา ศิลปะ การค้าพาณิชย์ และงานฝีมือ รวมทั้งยังมีแผนที่ประกอบตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ โดยเรียกว่า “ดินแดนแห่งความลี้ลับมหัศจรรย์”

              ปี ค.ศ. 1790 (พ.ศ. 2333) นายนิโคลัส โนวิตอฟ นักเขียนและเจ้าของสำนักพิมพ์ในรัสเชีย ได้จัดพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับดินแดนแห่งความลี้ลับเผยแพร่ในประเทศรัสเซีย เป็นที่สนใจโดยทั่วไปว่าดินแดนนี้มีอยู่จริงหรือไม่


             วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1863  (พ.ศ. 2406) รัสเซียทำการสำรวจทางทะเลด้วยเรือสำรวจ 2 ลำคือ เรือไกด้าม้าก และเรือลาดตระเวนโนวิก ภายใต้การบัญชาการณ์ของพลเรือโท อเล็กซี่ เปสซูรอฟ โดยให้ความสนใจดินแดนลี้ลับแห่งนี้ เรือสำรวจแล่นมาถึงบริเวณปากอ่าวแม่น้ำพระเจ้า และทำเรื่องขอเข้าเฝ้าพระประมุขของแผ่นดิน ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงพระราชทาน อนุญาตให้เข้าเฝ้าได้อย่างใกล้ชิด นำมาซึ่งความประทับใจแก่เหล่าผู้มาเยือนในครั้งนั้น ทั้งยังได้พบเห็นชาวสยามว่เป็นคนขยันขันแข็ง จิตใจโอบอ้อมอารี และมีน้ำใจแก่ชาวต่างชาติ

            การพบกันครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสายสัมพัน์ของทั้งสองประเทศ ต่อมาประเทศสยามมีการผลัดแผ่นดินเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทางประเทศรัสเซียส่งตัวแทนเป็นคณะนายทหารเรือมาแสดงความยินดีในปี ค.ศ. 1873  (พ.ศ. 2416) และครั้งงานเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ ครบ 100 ปี ในปีค.ศ. 1882 (พ.ศ. 2425) ทางรัสเซียก็ส่งตัวแทนมาคือพลเรือตรีอัสลันเบกอฟ ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ส่วนด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจยังไม่มีการเซ็นสัญญาการค้าระหว่างกัน เพราะรัสเซียสนใจค้าขายกับคาบสมุทรบอลข่านมากกว่า

           ปี ค.ศ. 1891  (พ.ศ. 2434) ในรัชสมัยการปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 มีการขยายเส้นทางการคมนาคม มาทางตะวันออกของประเทศด้วยเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียนซึ่งที่ยาวที่สุดในนโลก เชื่อมระหว่างยุโรปกับเอเชียในครั้งนั้น แกรนด์ดยุกนิโคลัส หรือมกุฎราชกุมารนิโคลัสเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ที่เมืองลาดิวอสต๊อก ดินแดนทางตะวันออกสุดของรัสเซีย  โดยเสด็จมากับเรือรบหลวงปาเมียต อโชวาเส้นทางการเดินของเรือในครั้งนั้นคือผ่านทะเลดำ อียิปต์ อินเดีย และสิงคโปร์ แล้วนำสู่เมืองวลาดิวอสต๊อก

            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวอยู่หัวทราบทราบเรื่องการเสด็จมาของมกุฎราชกุมารรัสเซีย เห็นเป็นโอกาสที่ดีจึงทูลเชิญเสด็จมาเยือนสยาม และมกุฎราชกุมารก็รับคำเชิญโดยทรงเสด็จฯ มาระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม ค.ศ. 1891 มีพิธีการต้อนรับอย่างสมเกียรติ โดย 3 วันแรก ประทับอยู่ในพระนคร ที่พระราชวังสราญรมย์ มีพืธีพระราชทาน “สายสะพายจักรี” เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของมหาจักรบรมราชวงศ์ชั้นสูงสุดของไทย ส่วนอีก 2 วันหลัง ประทับอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดอยุธยา มีขบวนเสด็จทางชลมารคที่ยิ่งใหญ่ มีผู้ติดตาม 3,000-4,000 คน มีกรจัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการคล้องช้าง ซึ่งถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายของรัตนโกสินทร์ โดยมีช้างป่าเข้าร่วมถึง 300 ตัว มีการฉายพระรูปที่พระที่นั่งเวหาสจำรูญ เพื่อเป็นที่ระลึก จากนั้นมกุฎราชกุมารนิโคลัสจึงเสด็จกลับรัสเซีย

             ปี ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436) เป็นช่วงที่สยามเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้อยู่หัวทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมาก ทรงคิดหาทางแก้ไขป้องกันโดยคำนึงถึงกลยุทธ์ทางการทูตเพื่อเป็นทางอยู่รอดของประเทศ พยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจโดยการเยือนเสด็จเยือนยุโรป และทรงนึกถึงรัสเซีย ซึ่งเวลานั้นมงกุฏราชกุมารก็ได้เถลิงถวัลย์ราชย์เป็นพระเจ้านิโคลัสที่ 2  พระเจ้าแผ่นดินแล้ว การเสด็จประพาสยุโรปมีหมายกำหนดการ 9 เดือน เริ่มขึ้นในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) โดยเรือพระรที่นั่งมหาจักรีออกจากปากน้ำสมุทรปราการ ผ่านมหาสมุทรอินเดียสู่ยุโรป โดยชึ้นบกที่เมืองเวนิช ประเทศอิตาลี ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และเข้าประเทศรัสเซียในวันที่ 1 กรกฏาคม

             พระเจ้านิโคลัสที่ 2 ทรงเสด็จมารับด้วยพระองค์เองเข้าสู่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พร้อมจัดพิธีการต้อนรับอย่างอบอุ่น มีการพระราชทานเครื่องราชอิสรายาภรณ์เซนต์แอนดรูว์ ชั้นสูงสุดของรัสเซียให้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 11 วันที่ทรงประทับอยู่ในรัสเซีย ถือเป็นการเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 3 กรกฏาคม ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) ทรงเสด็จฯ ไปประทับที่พระราชวังฤดูร้อนในเมืองปีเตอร์ฮอฟ และเยือนกรุงมอสโคว์ เยี่ยมชมพระรชวังเครมลินและห้างฟาแบรเซ่ ซึ่งเป็นร้านเครื่องทองและอัญมณีประจำราชสำนักหลวง ก่อนเสด็จออกจากรัสเซีย พระเจ้านิโคลันที่ 2  ได้ตรัสขอพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เสด็จมาศึกษาที่รัสเซีย โดยจะทรงต้อนรับและเลี้ยงดูประดุจพระโอรสของพระองค์ทีเดียว


             ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) รัชกาลที่ 5 ทรงตัดสินพระทัยส่งพระโอรสองค์โปรด “ทูลกระหม่อมเล็ก” สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ที่ 40 และโอรสองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ให้ไปศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงด้านการทหาร ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยทางทหาร Suvorov ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก  ประเทศรัสเซีย (สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ www.encspb.ru/en/adraticle.php?od=2803913943&adr=26) พร้อมกับคัดเลือกนักเรียนดีเด่นเพื่อไปเป็นพระสหายของพระโอรสคือ นายพุ่ม

             ส่วนความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นอย่างทางการ ทางรัสเซียแต่งตั้งนายอเล็กซานเดอร์ โคลารอฟสกี้ มาดำรงตำแหน่งอุปทูตรัสเซียที่สยามเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2442) ได้แต่งตั้งพระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) เป็นอัครราชทูตคนแรก ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารเลขที่ 6 ตึกบัญชาการทหารเรือ ริมฝั่งแม่น้ำเนวา 

             เมื่อปี ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ทางรัสเซียได้ส่งผู้แทนพระองค์คือ แกรสด์ดยุกบอริส วลาดิมิโฮวิตซ์มาร่วมพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี ค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2454)  อีก 6 ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ จากระบอบพระเจ้าชาร์มาเป็นสังคมนิยม ทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตต้องหยุดลงชั่วคราว จากนั้นจึงมีการสืบสานสัมพันธ์กันอีกครั้งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน  นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจากปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539 ประมาณ 50,000 คน ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ประมาณ 100,000 คน  เนื่องจากประทับใจในวัฒนธรรม ประเพณี อาหารโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะแสงแดดการอาบแดดตามชายหาดเป็นสิ่งที่โปรดปรานของคนรัสเซีย เนื่องจากประเทศรัสเซียมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี การเดินทางมาประเทศไทยโดยเครื่องบินใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมงเท่านั้น ค่าใช้จ่ายก็ไม่แพงมากนัก  บางคนเดินทางมาประเทศไทยมากกว่า 5 ครั้ง เพื่อมาพักผ่อนและฉลองคริสต์มาส ฉลองปีใหม่ที่กรุงเทพฯ พัทยา เกาะภูเก็ต เกาะช้าง และเกาะสมุย โดยเฉพาะประธานาธิบดีปูตินเองท่านก็ชอบเกาะภูเก็ตมากได้ใช้เวลาว่างมาพักผ่อนส่วนตัวที่ภูเก็ตนานเป็นพิเศษ


             ในปี ค.ศ. 2007  เป็นปีแห่งความสัมพันธ์ไทยกับรัสเซีย 110 ปี รัฐบาลรัสเซียได้ยกห้องส่วนปีกซ้ายของพระราชวังฤดูร้อนปีเตอร์ฮอฟจำนวน 2 ห้อง สำหรับแสดงนิทรรศการเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ แสดงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์โรมานอฟ

ดูเพิ่มเติม
โปรแกรมทัวร์ที่เกี่ยวข้อง
tag ที่เกี่ยวข้อง
รีวิวทริป
เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 08.30-17.30 น. เสาร์ 8.30-12.00 น.
ที่อยู่ : 18 ซ.บุญศิริ2(สขุมวิท27) ถ.สุขุมวิท ต.ปากน้ำ อ.เมือง
จ.สมุทรปราการ 10270
ใบอนุญาตินำเที่ยวเลขที่ 11/06399
DBD
เว็ปไซต์ในเครือของ Angel Star Travel
X
line @ facebook
Copyright © 2019 wowwtour.com | All Rights Reserved. | Powered by applezeed.com