ปัจจุบันโลกเราเจอทั้งมลพิษที่มาจาก PM 2.5 และจากการที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด ทำให้ผู้คนล้มตายและเจ็บป่วย เชื้อไวรัสต่างๆ เหล่านี้มีมานานมาก วันนี้
Angel Star Travel จะมาเล่าประวัติและความเป็นมาของไวรัสทั้ง 5 อันดับกันเลยค่ะ
1. กาฬโรค (Plague) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดไข้เฉียบพลันมีอัตราการเสียชีวิตสูง เคยเกิดระบาดใหญ่ในยุโรปที่เรียกว่า Black Death ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองฝอยจากการไอ จามของผู้ป่วย หรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยตรง และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการนำเชื้อของกาฬโรคมาทำเป็นอาวุธชีวภาพ จึงจัดเป็นโรคที่ก่อภัยคุกคามสูง เชื่อที่ก่อโรคมีชื่อว่า Yersinia Pestis เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่งขนาดกว้าง 0.5 ไมโครเมตร เจริญได้ดีในภาวะที่มีอ๊อกซิเจนที่อุณหภูมิต่ำ (25-28 องศา) โรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกาโดยเฉพาะพื้นที่ชนบทห่างไกล เกิดจากหมัดหนูตระกูล Rattus จากสัตว์สู่คนโดยการถูกดัด รองลงมาคือการสัมผัสกับสัตว์ที่มีเชื้อ
อาการของโรค : กาฬโรคมีระยะฟักตัว 3 ลักษณะ ดังนี้
1. Bubonic Plague เป็นอาการที่พบมากที่สุด 80-90% ของผู้ป่วยส่วนใหญ่ถูกหมัดกัด มีระยะฟักตัว 2-6 วัน อาการเริ่มแรกคือมีไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองบวมโต มีอัตราการตายร้อยละ 50-60%
2. Septicemic Plague เกิดจากเชื้อเข้ากระแสเลือดโดยตรง อาการมีไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดท้อง อ่อนเพลยมากจนช๊อคได้ หรือ อาจมีเลือดออกตามผิวหนังและอวัยวะ
3. Pneumonic Plague ระยะนี้อาจะเป็นอาการหลังจาก Bubonic หรือ Septicemic Plague นั่นก็คือ เป็นอาการที่เริ่มแรกหลังจากผู้ป่วยหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อปนเปื้อน และมีการฟักตัว 1-3 วัน อาการเบื้องต้นจะเหมือนกับลักษณะที่ 1และ 2 แต่ระยะนี้จะมีภาวะปอดบวมอย่างรวดเร็ว ไอมีเสมหะปนเลือด นำเข้าสู่ภาวะหายใจล้มเหลว และช๊อค ระยะนี้สามารถแพร่กระจายและติดต่อได้
2. โรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (Smallpox) เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากไวรัส Varlola จัดอยู่ใน Family Poxvlrdae, Genus Orthopoxvirus ซึ่งใน Genus ยังมีไวรัสอีกหลายชนิด มีขนาดประมาณ 350 นานาเมตร รูปร่างคล้ายอิฐ
อาการของโรค : เชื้อไวรัส Varlolar นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศจากละออง ไอ จาม ของผู้ป่วย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้ค่อนข้างทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ง่าย การฟักตัวของเชื้ออาจใช้เวลาถึง 12 วันโดยระบบทางเดินหายใจแล้วจึงเข้าสู่กระแสโลหิต จากนั้นก็กระจายไปทั่วร่างกาย อาการเริ่มต้นด้วยการปวดศรีษะ ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะมีผื่นขึ้นตามมา นูนแดง และกลายเป็นตุ่มน้ำใส ตรงกลางบุ๋ม และกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วค่อยแห้งตกสะเก็ด ไข้ทรพิษมี 2 ชนิดได้แก่ Varlolar major มีอาการรุนแรงและมีอันตรายตายสูง เนื่องจากบางรายอวัยวะของส่วนต่างๆ มีเลือดออก เช่น ที่ไต หัวใจ ปอด ม้าม กระเพาะอาหาร ลำไส้ ชนิดที่ 2 คือ Varlolar minor ทำให้เกิดโรค alastrim ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงเท่า โรคนี้ยังไม่มียารักษา แต่มีวัคซีนป้องกัน และในปัจจุบันได้มีการยกเลิกการให้วัคซีนไปแล้ว จึงเป็นโรคที่น่ากลัวไม่น้อยอีกโรคหนึ่ง
3. โรคแอนแทรกซ์ (anthrax) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่พบในสัตว์กินหญ้า เช่น โค กระบือ แพะ แกะ กลุ่มนี้ติดโรคง่ายที่สุด รองลงมา ได้แก่ ม้า หมู สุนัข แมว และสัตว์ปีก แอนแทรกซ์เป็นโรคจากสัตว์แต่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้
อาการของโรค : ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการป่วยภายใน 7 วัน เชื้อแอนแทรกซ์แบ่งออกเป็น 3 แบบตามช่องทางที่ได้รับเชื้อ
1. ทางเดินหายใจ โดยการหายใจเอาสปอร์เข้าไป ทำให้ระบบหายใจส่วนบนติดเชื้อ อาการคล้ายไข้หวัด กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีไข้ เจ็บหน้าอก ไอแห้งๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นใน 2-3 วันต่อมา หลังจากนั้นอาจมีอาการหายใจลำบาก ผิวหนังมีสีม่วงเนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ช็อค และมักเสียชีวิตใน 24-36 ชม.
2. ทางผิวหนัง เกิดจากการสัมผัส หรือ เข้าสู่บาดแผล มักพบในผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสัตว์ เช่น โรงฆ่าสัตว์ จะเริ่มด้วยอาการคันที่บริเวณสัมผัส ต่อมาจะเป็นตุ่มบวมมีน้ำใส ภายใน 2-6 วันก็จะเริ่มยุบตรงกลางเป็นเนื้อตายสีดำคล้ำ คล้ายกับแผลบุหรี่จี้ รอบๆแผลบวมน้ำ แต่จะไม่ปวดแผล และอาจมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อน อาการดังกล่าวอาจสับสนกับแผลโรคสครับไทฟัส แต่ที่สังเกตุได้คือ ผู้ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์ แผลมักพบนอกร่มผ้าและมีขนาดใหญ่กว่า ผู้ที่ไม่ได้บำบัดรักษาเชื้ออาจกระจายไปตามต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษได้
3. ระบบทางเดินอาหาร (intestinal anthrax) ได้รับเชื้อโดยการกิน ซึ่งพบได้น้อยและสังเกตุอาการได้ยาก ในประเทศไทยมีรายงานโรคแอนแทรกซ์ที่คอ ผู้ป่วยจะแสดงอาการเจ็บคอ คอบวม แข็งตึง กลึนอาหารลำบาก
4. โรคไข้เหลือง (Yellow Fever Virus) มีแหล่งรังโรคคือ คน ยุงลายและลิงในป่า การแพร่เชื้อเกิดได้ 3 วงจรคือ วงจรในป่าเกี่ยวกับยุง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิง วงจรระหว่างกลางเกี่ยวข้องคนคนและยุง ในเขตทุ่งหญ้าสวันนาของแอฟริกา และในเมืองที่มียุงชุกชุม การแพ่ระบาดส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยรุ่นชายที่ทำงานในป่าหรือบริเวณชายป่า ในเขตเมืองระบาดสู่คนโดยยุงลายที่ติดเชื้อ
อาการของโรค : ไวรัสไข้เหลืองมีระยะฟักตัวในคน 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการแสดงเล็กน้อย ได้แก่ มีไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาเจียน บางรายอาจะมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำไหล เลือดออกที่เหงือก อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายมีสีดำ
5. โควิด-19 ถ้าพูดถึงเชื้อโควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรน่า ในยุค 2020 คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ว่าไม่มีใครรู้จัก จริงๆ แล้วไวรัสตัวนี้ไม่ใช่ไวรัสน้องใหม่ ไวรัสโคโรน่าเคยถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ในขณะนั้นยังไม่ทราบแหล่งที่มาของเชื้อดังกล่าว เป็นไวรัสที่สามารถติดได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ เพียงคนละสายพันธ์เท่านั้นเอง ในอดีตไวรัสโคโรน่าถูกค้นพบว่ามีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ และปัจจุบัน เป็นสายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่า “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่” มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โควิด-19 (COVID-19) แรกเริ่มที่ถูกค้นพบจากสัตว์ก่อน โดยเป็นสัตว์ทะเลที่มีการติดเชื้อไวรัสนี้ ถ่ายทอดสู่คนด้วยหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการใกล้ชิด หรือการรับประทานแบบไม่ถูกอนามัย ทำให้เชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายคนได้ง่าย ซึ่งเชื้อไวรัสโควิด-19ในขณะนี้ได้กระจายไปทั่วทุกมุมโลก และยังคงต้องหาหารักษากันต่อไป แม้ว่าจะมีรายงานว่ามียาต้านไวรัสหรือรักษาได้แล้ว แต่เชื้อโควิด-19 ได้กลายพันธุ์จากเดิมไปแล้ว ยังคงต้องหาทางรักษากันต่อไป
อาการของโรค :
cr. ภาพจากกรุงเทพธุรกิจ